Last update : Tuesday 24 January 2023
ภรรยา 7 แบบ
โสภณ จาเลิศ

(อ่านแล้วโปรดประเมินความพึงพอใจ โดยคลิก Link ข้างล่าง ใต้เอกสารอ้างอิง จะเป็นพระคุณยิ่ง)

          DMC.TV. (2565 : ออนไลน์) ได้กล่าวถึงเรื่องมูลเหตุของเรื่อง ภรรยา 7 แบบ ว่า ณ เมืองสาวัตถี มีครอบครัวของเศรษฐีผู้หนึ่งนามว่า
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นหลังจากรับสะใภ้ที่เป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่เข้ามาอยู่ในบ้าน สะใภ้ที่ว่านี้ก็คือนางสุชาดาผู้เป็น
น้องสาวของนางวิสาขา สะใภ้ผู้นี้สำคัญตนว่าเป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่จึงไม่ยอมก้มหัวให้กับใครเลยในครอบครัวของสามี เที่ยวดุด่าเฆี่ยนตี
ทาสรับใช้ในเรือนของสามีอยู่เป็นประจำ แม้กระทั่งปู่และย่าผู้อาวุโสที่สุดในบ้านนางสุชาดาก็ไม่ได้ให้ความเคารพแต่อย่างใด

          วันหนึ่งพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เข้าไปฉันที่บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ขณะที่กำลังแสดงธรรมอยู่ ก็ได้ยินเสียงเอะอะ
โวยวาย พระพุทธองค์ทรงถามว่า “เสียงเอะอะโวยวายอะไรรึ” เศรษฐีกราบทูลว่า “เสียงลูกสะใภ้ของหม่อมฉันเองพระเจ้าค่ะ” และกราบทูลเรื่อง
ทั้งหมดให้ทราบ พระองค์จึงรับสั่งในนางมาเข้าเฝ้า “สุชาดา คำว่าภรรยานะมี 7 แบบ เจ้านะเป็นแบบไหน” “หม่อมฉันไม่เข้าใจเพคะ ขอพระองค์
ทรงโปรดอธิบายด้วยเพคะ” พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงเรื่องภรรยาทั้ง 7 แบบ ซึ่งภรรยาทั้ง 7 แบบ นี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต).
(2556 : 206) ได้สรุปไว้สั้น ๆ อย่างเข้าใจง่าย ว่า 

         ภรรยาแบบต่าง ๆ จำแนกโดยคุณธรรม ความประพฤติ ลักษณะนิสัย และการปฏิบัติต่อสามี แบ่งได้ 7 อย่าง ได้แก่

          1. วธกาภริยา คือ ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต, ภรรยาที่คิดร้าย ซื้อได้ด้วยเงิน มิได้อยู่กินด้วยความพอใจ ยินดีชายอื่น ดูหมิ่นและคิด
ทำลายสามี

          2. โจรีภริยา คือ ภรรยาเยี่ยงโจร, ภรรยาผู้ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ

          3. อัยยาภริยา คือ ภรรยาเยี่ยงนาย, ภรรยาที่เกียจค้าน ไม่ใส่ใจการงาน กินมาก ปากร้าย หยาบคาย ใจเหี้ยม ชอบข่มสามี

          4. มาตาภริยา คือ ภรรยาเยี่ยงมารดา, ภรรยาที่หวังดีเสมอ คอยห่วงใยเอาใจใส่สามี เหมือนมารดาปกป้องบุตร และประหยัด
รักษาทรัพย์ที่หามาได้

          5. ภคินีภริยา คือ ภรรยาเยี่ยงน้องสาว, ภรรยาผู้เคารพรักสามี ดังน้องรักพี่ มีใจอ่อนโยน รู้จักเกรงใจและคล้อยตามสามี

          6. สขีภริยา คือ ภรรยาเยี่ยงสหาย, ภรรยาที่เป็นเหมือนเพื่อน พบสามีเมื่อใด ก็ปลาบปลื้มดีใจ เหมือนพบเพื่อนที่จากไปนาน
เป็นผู้มีการศึกษาอบรม มีกิริยามารยาท ความประพฤติภักดีต่อสามี

          7. ทาสีภริยา คือ ภรรยาเยี่ยงทาสี, ภรรยาที่ยอมอยู่ในอำนาจสามี ถูกขู่ตะคอกเฆี่ยนตี ก็อดทนไม่โกรธตอบ ท่านสอนให้ภรรยาสำรวจ
ตนว่า ที่เป็นอยู่ ตนเป็นภรรยาประเภทไหน และจะให้ดีควรจะเป็นภรรยาประเภทใด

          ท่านสุภาพสตรีที่เป็นภรรยา ลองพิจารณาดูว่าท่านเป็นภรรยาแบบไหน หากอยากจะเปลี่ยนแปลง ก็น่าจะทำได้ ดังเช่น เรื่องราวของ
องคุลีมาล ซึ่งหลายท่านคงทราบเรื่องนี้กันอยู่แล้ว ผู้เขียนจะขอนำมาเล่าอย่างย่อ ๆ คือ

         องคุลีมาล ฆ่าคนมาได้ 999 คน อีกคนเดียวจะครบ 1,000 คน เมื่อได้รับฟัง พุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า ก็ยังยอมทิ้งอาวุธ
และบวชเป็นพระภิกษุมุ่งหน้าเดินบนหนทางธรรม ผลกรรมที่เคยทำเมื่อครั้งยังเป็นโจรทำให้องคุลิมาลต้องเผชิญเคราะห์กรรม
นานัปการ ทั้งถูกชาวบ้านชาวเมืองรุมประณามทำร้ายขณะออกบิณฑบาตจนเลือดตกยางออกเมื่อคิดตัดใจได้ว่าไม่มีวันย้อนเวลา
กลับไปแก้ไขความผิดพลาดในอดีตได้ ดวงจิตขององคุลิมาลจึงพ้นจากความพะวงทั้งปวงและบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

          เรื่องราวของขุนโจรผู้หลงผิด แต่เปลี่ยนชีวิตด้วยพระธรรมจนพ้นจากบ่วงกรรมคนนี้ สามารถยืนยันประโยคที่ว่า“ไม่มีคำว่า
สายสำหรับการกลับตัวเป็นคนดี” ให้คนทั้งโลกเข้าใจอย่างไร้ข้อกังขาใด ๆ (อิสระพร บวรเกิด. 2566 : ออนไลน์)

เอกสารอ้างอิง


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 24.
             กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2556.
อิสระพร บวรเกิด. องคุลีมาล มหาโจรกลับใจ. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://goodlifeupdate.com/
            healthy-mind/dhamma/3338.html [23 มกราคม 2566].
DMC.TV. ชาตาชาดก-ชาดกว่าด้วยภรรยา 7 แบบ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา:https://www.dmc.tv/
            pages/นิทานชาดก/นิทานชาดก-ชาตาชาดก.html [10 มกราคม 2565].

อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาท่าน
โปรดประเมินความพึงพอใจ จากการอ่านเรื่องนี้
โดยคลิก URL ข้างล่างนี้ จะเป็นพระคุณยิ่ง

 รุณาคลิกที่นี่ครับ  

Back

Home

หากท่านต้องการดูเรื่อง สามี 7 ประเภท คลิกที่นี่ได้เลยครับ


You are visitor Number web counter Since Tuesday 24 January 2023

ปล. ขอขอบคุณผู้ประเมินที่แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ บทสรุป ได้ปรับปรุงเมื่อ 23 ม.ค. 2566 เวลา 22:17 น.
      ตามที่ท่านผู้อ่านได้แสดงความคิดเห็น

ข้อมูลเมื่อ 23 ม.ค. 2566

 

 


      

 

.